วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมา

"เครื่องเงิน" หัตถกรรมเครื่องเงิินพื้นบ้าน สู่ "OTOP ห้าดาว"

เครื่องเงินชมพูภูคา (กำไลเงิน)

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของ จ. น่าน โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพตั้งแต่ พ.ศ.2515 แต่เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์ ในด้านการค้า จึงถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางมาโดยตลอด

เครื่องเงินชมพูภูคา (ขันเงิน หรือ สลุง และทัพพีเงิน)

เงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทย แหล่งเครื่องเงินที่โดดเด่นจริงๆก็มีกันอยู่ไม่กี่แห่งอาทิ ถนนวัวลาย จ.เชียงใหม่ เครื่องเงิน เมืองนครศรีธรรมราช เครื่องเงินโบราณสุโขทัย และเครื่องเงิน เมืองวรนครน่าน เป็นต้น

ที่ "เมืองน่าน" ก็เป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีงานหัถตกรรมการทำเครื่องเงิน ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์งดงามไม่แพ้ที่ใด จนกลายมาเป็นหนึ่งในของฝากที่ขึ้นชื่อของเมืองน่าน

ความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ "ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ" เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป จะค่อนไปในทางอ่อน แต่ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ จุดเด่นอันเป็นจุดต่างจึงอยู่ที่ส่วนผสม แบบ และฝีมือ เครื่องเงินจังหวัดน่าน ขึ้นชื่อในเรื่องความละเอียดของฝีมือ และมีลวดลายเฉพาะตัว

บริษัทผลิตเครื่องเงินอย่าง "บริษัท ดอยซิลเวอร์แฟคเตอรี่ จำกัด" ที่ตั้งอยู่ใน อ.ปัว จ.น่าน เป็นบริษัทผลิตเครื่องเงินเมืองน่าน ที่เป็นในรูปแบบอุตสาหกรรมขนาดกลาง ผลิตเครื่องเงินเมืองน่านส่งขายในต่างประเทศเป็นหลัก

ที่นี่มีข้อดี คือ ไม่หวงขั้นตอนการทำ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเข้าชม วิธีการทำเครื่องเงินและอุดหนุนได้ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ทุกวัน จันทร์-เสาร์ ซึ่งจะได้เห็นขั้นตอนความยุ่งยาก พิถีพิถัน กว่าจะมาเป็นเครื่องเงินเมืองน่านนั้นเป็นอย่างไร

ซึ่งราคาก็แสนจะคุ้มค่า เพราะกว่าจะของมาเป็นเครื่องเงินที่งดงามได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนหลายกระบวนการเช่น
‘การหุ้ม’ หมายถึง การตีหรือรีดเงินเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาหุ้มหรือคลุม แล้วจึงเข้าสู่ กระบวนการ
‘หล่อ’ หมายถึง การทำแม่พิมพ์ แล้วนำโลหะเงินที่หลอมละลายเทลงในแม่พิมพ์ให้เป็นรูป และลวดลายตามแม่พิมพ์นั้น
แล้วค่อย
‘ดุน’ หมายถึง การตีหรือรีดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วใช้เครื่องมือกดบนผิวหน้าโลหะให้เกิดเป็นรอยลวดล ายเรียกว่า ลายดุนหรือรูปดุน ดุนเสร็จก็ต้องนำมา
‘แกะลาย’
หมายถึงการทำลวดลายโดยใช้วัตถุมีคม เช่น สิ่ว แกะให้เกิดเป็นลวดลาย
แล้ว นำมา
‘กะไหล่’
หมายถึง การเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทอง โดยการหลอมละลายให้โลหะเงินหรือทองเหลว แล้วนำไปทาหรือเคลือบให้ติดบนโลหะอื่น เสร็จแล้วก็เข้าสู่
‘การคร่ำ’
หมายถึง การเอาเงินฝังเป็นลวดลายในโลหะเทคนิคการคร่ำมีทั้งโล หะที่เป็นเงินและทองคำเรียกว่า คร่ำเงินและคร่ำทอง นิยมทำกับภาชนะมีคม

ส่วน วิธีเลือกซื้อเงินแท้ของเมืองน่านนั้น จะไม่มันแวววาว เนื้อโลหะอ่อน โดยเฉพาะที่ตะขอ อีกทั้งน้ำหนักจะมากกว่าสแตนเลส พื้นผิวเครื่องเงินจะเรียบ ประณีต เนื่องจากทำด้วยมือ

ที่ "ศูนย์เครื่องเงินชมพูภูคาและหัตถกรรมเมืองน่าน" ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เข้ามาพัฒนาต่อยอดในเรื่องกา รผลิตเครื่องเงินเมือง น่านให้มีคุณภาพ โดยที่นี่งานเครื่องเงินจะเป็นฝีมือของ ชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง (แม้ว) ซึ่งเป็นชนเผ่าชาวเขาในพื้นที่สูงของจังหวัดน่าน ซึ่งเชี่ยวชาญ งานเครื่องเงินมาแต่ยุคโบราณ ลายเงินที่สลักลงลายมีความเป็นเฉพาะตัว ซึ่งเมื่อครั้ง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนเชียงใหม่และทอดพระเนตรเครื่องเงินได้ทรงส นพระทัยและเรียกให้ช่าง เงินเข้าไปฝึกสอนช่างในศูนย์ศิลปาชีพในสวนจิตรลดา จนงานฝีมือได้รับการพัฒนาและสืบทอดมาจนถึงวันนี้

ทางศูนย์ทำหน้าที่ ผลิตและจำหน่าย โดยเป็นศูนย์ให้ความรู้ฝึกอาชีพให้กับคนในชุมชน กว่า 200 ครอบครัวโดยทางศูนย์ได้รับ รางวัลสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว (สูงสุดของรางวัล OTOP)

ราคาขายตามน้ำหนัก แล้วแต่ความยากง่ายของลวดลาย นอกจากเครื่องประดับแล้วยังมีประเภทเครื่องใช้ด้วย เช่น สลุงหรือขัน กระบวย ช้อน ราคาจะค่อนข้างสูง เพราะน้ำหนักมาก ข้อควรระวังในการใช้ของประเภทนี้คือ อย่านำไปใส่ของร้อนอย่างแกง หรือของเค็มอย่างน้ำพริก เพราะจะทำให้สีของเงินเปลี่ยน ล้างไม่ออก ต้องนำไปขัดใหม่